• ห้องเรียนครูวาวโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์

บัตรเนื้อหากิจกรรมที่ 3 เรื่อง ภาษาท่านาฏศิลป์

            ภาษาท่านาฏศิลป์ เป็นการนำท่าทางต่างๆ และสีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น คำพูด กริยาอาการ อารมณ์ ความรู้สึก มาปฏิบัติเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมาย แทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง การฝึกปฏิบัติ การฝึกหัดภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อจำได้สื่อความหมายได้ โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ผู้แสดงต้องการสื่อความหมายมากขึ้นที่มาของภาษาท่า ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
            1. ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ เป็นท่าทางที่ดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติ ของคนเรา แต่ปรับปรุงให้ดูสวยงามอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น โดยใช้ลักษณะการร่ายรำเบื้องต้น มาผสมผสาน เช่น ท่ายิ้ม ท่าเรียก ท่าปฏิเสธ ท่าร้องไห้ ท่าดีใจ ท่าเสียใจ ท่าโกรธ
            2.ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์โดยตรง เป็นท่าทางที่ประดิษฐ์ ขึ้นเพื่อให้เพียงพอ ใช้กับคำร้องหรือคำบรรยาย ที่จะต้องแสดงออกเป็นท่ารำ เช่น สอดสร้อยมาลา เป็นต้น ภาษาท่าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ความหมายระหว่างผู้แสดงและผู้ชม ในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทำให้ผู้ชมทราบว่าผู้แสดงกำลังสื่ออะไร หรือกำลังมีอารมณ์อย่างไร ภาษาท่าสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
             1. ภาษาท่าที่ใช้แทนคำพูด
             2. ภาษาท่าที่ใช้แทนกิริยาอาการต่างๆ
             3. ภาษาท่าที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกภายใน
             ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้
            1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
             2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
            3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศก

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้ประกอบการปฏิบัติท่ารำ

ท่าตัวเรา, ข้าพเจ้า, ฉัน
ท่าตัวเรา, ข้าพเจ้า, ฉัน 1. ท่าแนะนำตัว หมายถึงสรรพนามแทนตัวเรา หรือ ฉัน หรือ ข้าพเจ้า ปฏิบัติดังนี้ : จะนั่งหรือยืนก็ได้ มือซ้ายใช้จีบหงายที่อกหรือใช้ฝ่ามือซ้ายแตะที่อก หรือชี้นิ้วชี้ซ้ายที่อกหรือใช้นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายชี้ที่อกก็ได้

ท่าท่าน

ท่าท่าน
2. เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง โดยใช้ส่วนทั้งหมดของฝ่ามือในลักษณะของการตะแคงสันมือระดับศีรษะ นิ้วเหยียดตึงให้ปลายมือไปสู่ผู้ที่กล่าวถึง ผู้ที่อาวุโสหรือศักดิ์สูงกว่า

ท่าไม่ ,ท่าปฏิเสธ

ท่าไม่ ,ท่าปฏิเสธ
ท่าไม่ ,ท่าปฏิเสธ 3. เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งวงหน้า แล้วสั่นปลายเมือพร้อมทั้งส่ายหน้าเล็กน้อย

อาย

อาย
อาย 4. เป็นการใช้ฝ่ามือแตะข้างแก้มใกล้ขากรรไกร ก้าวเท้าข้างที่มือแตะแก้มไขว้ไปอีกด้านตรงข้าม (ก้าวหลบคนที่เราอาย) ส่วนใหญ่เป็นท่าของตัวนาง

ท่าโศกเศร้า, ร้องไห้, เสียใจ

ท่าโศกเศร้า, ร้องไห้, เสียใจ
ท่าโศกเศร้า, ร้องไห้, เสียใจ 5. เป็นการใช้มือซ้ายแตะที่หน้าผาก มือขวาจีบหงายที่ชายพก ตัวพระมือขวาเท้าสะเอว ก้มหน้าเล็กน้อย พร้อมสะดุ้งตัวขึ้นเหมือนกำลังสะอื้น แล้วจึงใช้นิ้วชี้ซ้ายแตะที่นัยน์ตาทั้งสองข้าง เหมือนกำลังเช็ดน้ำตา

รัก

รัก
รัก 6. เป็นการทำมือทั้งสองตั้งวงไขว้กันระดับอก แล้วหมุนข้อมือทาบลงที่ฐานไหล่

ยิ้ม

ยิ้ม
ยิ้ม 7. เป็นการใช้มือซ้ายกรีดจีบ หักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้และหัวแม่มือหันเข้าหาใบหน้า ให้อยู่ตรงกับปาก

ท่าโกรธ

ท่าโกรธ
ท่าโกรธ 8. เป็นการใช้ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งถูที่ก้านคอใต้ใบหูไปมา แล้วกระชากลง ถ้ากระชากเบาๆ ก็เพียงเคืองใจ แต่ถ้ากระชากแรงๆ พร้อมทั้งกระทืบเท้าลงกับพื้น แสดงว่าโกรธจัด

ท่าไป

ท่าไป
ท่าไป 9. เป็นการทำมือหนึ่งจีบเข้าหาตัว แล้วหมุนข้อมือเป็นจีบคว่ำลง หักข้อมือ ปล่อยจีบออกเป็นวง เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ทำ

ท่าที่นี่

ท่าที่นี่
ท่าที่นี่ 10. ชี้ด้วยมือขวาหรือมือซ้ายก็ได้ ส่วนอีกมือหนึ่งอาจจีบหลังหรือเท้าสะเอว มือที่ชี้ปฏิบัติชี้ลงต่ำระดับเอว สื่อความหมายถึงสิ่งใกล้ๆ

ท่าที่โน่น

ท่าที่โน่น
ท่าที่โน่น 11. ชี้ด้วยมือขวาหรือมือซ้ายก็ได้ ส่วนอีกมือหนึ่งอาจจีบหลังหรือเท้าสะเอว มือที่ชี้ปฏิบัติชี้ลงต่ำระดับศีรษะ แขนตึง สื่อความหมายถึงสิ่งของสถานที่ที่ไกลมาก

ท่านั่ง

ท่านั่ง
ท่านั่ง นั่งพับเพียบไปทางขวา เชิดปลายนิ้วเท้ามาทางด้านหน้าเท้าขวาซ้อนบนเท้าซ้าย มือซ้ายแบมือวางบนขาขวาด้านนอก มือขวาแบมือวางถัดมาทางด้านใน งอแขนขวา เอียงขวา