บัตรเนื้อหากิจกรรมที่ 1 เรื่อง นาฏยศัพท์
การปฏิบัติท่ารำในการฝึกนาฏศิลป์ไทยนั้น
ผู้ฝึกหัดจะต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นเพื่อผู้ฝึกและผู้ปฏิบัติจะได้มีแนวทางในการปฏิบัติและใช้ชื่อเรียกร่วมกัน
ง่ายต่อการสื่อความหมาย วงการนาฏศิลป์ เรียกข้อกำหนดในภาษาทางนาฏศิลป์นี้ว่า นาฏยศัพท์
นาฏยศัพท์ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาทางนาฏศิลป์เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ผู้คิดรวบรวมให้คำอธิบาย นาฏยศัพท์ โดยจัดแบ่งหมวดหมู่นาฏยศัพท์ขึ้นเป็นคนแรก คือ ประทิน พวงสำลี โดยได้เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ในการปฏิบัติและประสบการณ์ ในการสอน โดยในระยะแรกได้ใช้สอนนักเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ได้ผลดี ในเวลาต่อมาจึงได้รวบรวมจัดพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการสอนและจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2506 การจัดหมวดหมู่นาฏยศัพท์ ของประทิน พวงสำลี แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้
1. นามศัพท์ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำต่างๆ และท่าชื่อที่บอกอาการของท่านั้น เป็นนาฏยศัพท์เบื้องต้นว่าด้วยอาการกิริยาที่ผู้ฝึกละครรำจะต้องเรียนรู้ซึ่งมีคำศัพท์บัญญัติไว้ เป็นชื่อเฉพาะ เช่น วงบน วงกลาง วงล่าง วงหน้า จีบหงาย จีบคว่ำ ยกเท้า ก้าวเท้า ฯลฯ
2. กิริยาศัพท์ คือ คำศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติกิริยาอาการต่างๆ ซึ่งรวมทั้งกิริยาอาการที่ควรปฏิบัติว่าถูกต้องสวยงาม เช่น ลักคอ ม้วนมือ คลายจีบ ฯลฯ และกิริยาอาการที่ไม่ควรปฏิบัติ อันเป็นความบกพร่องของการปฏิบัติท่ารำ ซึ่ง เรียกว่าศัพท์เสื่อม เช่น วงหัก วงล้า วงล้น คอดื่ม ฯลฯ และกิริยาอาการที่ปรับปรุงท่าให้สวยงาม เรียกว่าศัพท์เสริม เช่น กันวง ลดวง ตึงเอว ตึงไหล่ ฯลฯ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับท่ารำนอกเหนือจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ เป็นภาษาทางนาฏศิลป์ เช่น ขึ้นท่า นายโรง ยืนเครื่อง นางกษัตริย์ นางตลาด ฯลฯ วิชานาฏศิลป์เป็นวิชาทักษะที่สามารถเรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ โดยการฝึกฝนให้เกิด ความชำนาญ การเรียนรู้นาฏยศัพท์และการฝึกหัดให้เกิดทักษะ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ฝึกหัดนาฏศิลป์ เพราะหลักนาฏศิลป์มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติซึ่งเป็นหลักเฉพาะด้านนาฏศิลป์เป็นข้อตกลงที่ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติสามารถเข้าใจ ปฏิบัติตามได้ อย่างถูกต้องสวยงาม
นาฏยศัพท์ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาทางนาฏศิลป์เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ผู้คิดรวบรวมให้คำอธิบาย นาฏยศัพท์ โดยจัดแบ่งหมวดหมู่นาฏยศัพท์ขึ้นเป็นคนแรก คือ ประทิน พวงสำลี โดยได้เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ในการปฏิบัติและประสบการณ์ ในการสอน โดยในระยะแรกได้ใช้สอนนักเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ได้ผลดี ในเวลาต่อมาจึงได้รวบรวมจัดพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการสอนและจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2506 การจัดหมวดหมู่นาฏยศัพท์ ของประทิน พวงสำลี แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้
1. นามศัพท์ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำต่างๆ และท่าชื่อที่บอกอาการของท่านั้น เป็นนาฏยศัพท์เบื้องต้นว่าด้วยอาการกิริยาที่ผู้ฝึกละครรำจะต้องเรียนรู้ซึ่งมีคำศัพท์บัญญัติไว้ เป็นชื่อเฉพาะ เช่น วงบน วงกลาง วงล่าง วงหน้า จีบหงาย จีบคว่ำ ยกเท้า ก้าวเท้า ฯลฯ
2. กิริยาศัพท์ คือ คำศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติกิริยาอาการต่างๆ ซึ่งรวมทั้งกิริยาอาการที่ควรปฏิบัติว่าถูกต้องสวยงาม เช่น ลักคอ ม้วนมือ คลายจีบ ฯลฯ และกิริยาอาการที่ไม่ควรปฏิบัติ อันเป็นความบกพร่องของการปฏิบัติท่ารำ ซึ่ง เรียกว่าศัพท์เสื่อม เช่น วงหัก วงล้า วงล้น คอดื่ม ฯลฯ และกิริยาอาการที่ปรับปรุงท่าให้สวยงาม เรียกว่าศัพท์เสริม เช่น กันวง ลดวง ตึงเอว ตึงไหล่ ฯลฯ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับท่ารำนอกเหนือจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ เป็นภาษาทางนาฏศิลป์ เช่น ขึ้นท่า นายโรง ยืนเครื่อง นางกษัตริย์ นางตลาด ฯลฯ วิชานาฏศิลป์เป็นวิชาทักษะที่สามารถเรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ โดยการฝึกฝนให้เกิด ความชำนาญ การเรียนรู้นาฏยศัพท์และการฝึกหัดให้เกิดทักษะ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ฝึกหัดนาฏศิลป์ เพราะหลักนาฏศิลป์มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติซึ่งเป็นหลักเฉพาะด้านนาฏศิลป์เป็นข้อตกลงที่ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติสามารถเข้าใจ ปฏิบัติตามได้ อย่างถูกต้องสวยงาม
นาฏยศัพท์ที่ใช้ประกอบการปฏิบัติท่ารำ
นาฏยศัพท์เกี่ยวกับการปฏิบัติมือ
จีบหงาย
จีบหงาย คือ อาการของจีบที่หงายท้องแขนหรือข้อมือขึ้นให้ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้นด้านบน
จีบหงายอาจจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของการปฏิบัติท่ารำได้แตกต่างกัน เช่น
จีบหงายชายพก(อยู่ระดับหน้าท้อง) จีบหงายส่งแขนตึงไปข้างหน้า จีบหงายส่งแขนตึงไปด้านหลัง จีบหงายระดับอก
เป็นต้น
จีบคว่ำ
จีบคว่ำ
จีบคว่ำ คือ อาการของจีบคว่ำท้องแขนลง หักข้อมือลงให้ปลายนิ้วจีบชี้เบื้องล่าง
จีบคว่ำอาจจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของการปฏิบัติท่ารำ เช่น จีบคว่ำระดับชายพก (หน้าท้อง)
จีบคว่ำระดับอก จีบคว่ำส่งมือไปด้านหน้า จีบคว่ำส่งมือไปด้านข้าง เป็นต้น
จีบปรกหน้า
จีบปรกหน้า
จีบปรกหน้า คือ อาการของจีบที่คล้ายจีบหงาย เพราะหงายท้องแขนขึ้นให้มือจีบอยู่ด้านหน้า
ปฏิบัติโดยยกลำแขนส่วนบนขึ้นด้านหน้า ลำแขนส่วนล่างหักขึ้นทำมุมที่ศอก หันจีบปรกข้างเข้าหาตนเอง
จีบหลัง
จีบหลัง
จีบหลัง หรือบางครั้งเรียกว่า จีบส่งหลัง ได้แก่อาการของจีบที่ส่งแขนไปด้านหลังคว่ำ
ท้องแขนลง แล้วพลิกข้อมือให้ลำแขนส่วนล่างหงายขึ้นให้ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้นข้างบน การจีบหลัง
ต้องส่งมือและลำแขนตึงให้ห่างลำตัวมากที่สุด
จีบปรกข้าง
จีบปรกข้าง
จีบปรกข้าง การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะ ลำแขนอยู่ข้าง ๆ
ระดับเดียวกับวงบน
วงบน
วงบน
วงบน วงบน เป็นวงที่อยู่ในระดับสูงสุด โดยทอดลำแขนให้โค้งได้ระดับจากไหล่ไปด้านข้าง
ของลำตัว ให้ลำแขนส่วนบนลาดจากไหล่เล็กน้อย ช้อนลำแขนส่วนล่างขึ้น การตั้งวงของตัวพระ
กับตัวนางแตกต่างกันคือ
ตัวพระ วงบนจะตั้งวงให้ปลายนิ้วอยู่ระดับแง่ศีรษะ (ตรงขมับ)
ตัวนาง วงบนจะให้ปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว
ตัวพระ วงบนจะตั้งวงให้ปลายนิ้วอยู่ระดับแง่ศีรษะ (ตรงขมับ)
ตัวนาง วงบนจะให้ปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว
วงกลาง
วงกลาง
วงกลาง คือ การตั้งวงให้โค้งออกด้านข้างของลำตัว ทิ้งระดับข้อศอกให้อยู่สูงกว่า
สะเอวเล็กน้อย แล้วช้อนลำแขนส่วนบนขึ้นเล็กน้อยให้ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่ หรือต่ำกว่าไหล่
เล็กน้อย วงกลางของตัวพระกับตัวนางอยู่ในระดับเดียวกัน แต่วงกลางของตัวพระจะต้องผาย
ลำแขนออกมากกว่าตัวนางเล็กน้อย
วงล่าง
วงล่าง
วงล่าง คือ การตั้งวงให้ส่วนโค้งของลำแขนทอดลงเบื้องล่างลำแขนส่วนล่างจะพลิก
ออกให้ปลายนิ้วอยู่ระดับชายพก (หน้าท้อง)
วงบัวบาน หรือ วงพิเศษ
วงบัวบาน หรือ วงพิเศษ
วงบัวบาน หรือ วงพิเศษ น คือ การยกแขนโดยหงายท้องแขนขึ้นทอดไปทางด้างข้างของลำตัว ให้
ข้อศอกสูงระดับไหล่ ชูลำแขนท่อนล่างขึ้นทำมุมกับแขนท่อนบนเกือบได้ฉาก (แขนท่อนล่างผาย
ออกเล็กน้อยแต่พองาม) พลิกฝ่ามือแบหงาย ปลายนิ้วชิดติดกัน หักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือ
เล็กน้อย
นาฏยศัพท์เกี่ยวกับการปฏิบัติเท้า
กระดกเท้า
กระดกเท้า
กระดกเท้า คือ การยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลัง โดยหนีบขาพับให้น่องชิดโคนขา
มากที่สุดหักข้อเท้า ส่วนขาอีกด้านหนึ่งยืนรับน้ำหนักและย่อเข่าลง
กระดกเสี้ยว
กระดกเสี้ยว
กระดกเสี้ยว คือ คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้าง ๆ และไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทำ
ต่อเนื่องการก้าวข้างหรือท่านั่งกระดกเท้า
ยกเท้า
ยกเท้า
ยกเท้า คือ อาการของเท้าที่ยกขึ้นทางด้านหน้ามีวิธีปฏิบัติ ดังน
ตัวพระ จะกันเข่าออกไปด้านข้าง ส้นเท้าอยู่ระดับครึ่งน่อง
ตัวนาง เวลายกหน้าให้ยกขึ้นโดยให้ฝ่าเท้าข้างที่ยกอยู่ระดับต่ำกว่าเข่า ของข้างที่ยืน ประมาณ 1 คืบ ขาส่วนล่างให้ยื่นไปข้างหน้าปลายเท้าตรง เชิดปลายเท้าขึ้นให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหา ลำขา ขาข้างที่ยืนย่อเข่าเล็กน้อย
ตัวพระ จะกันเข่าออกไปด้านข้าง ส้นเท้าอยู่ระดับครึ่งน่อง
ตัวนาง เวลายกหน้าให้ยกขึ้นโดยให้ฝ่าเท้าข้างที่ยกอยู่ระดับต่ำกว่าเข่า ของข้างที่ยืน ประมาณ 1 คืบ ขาส่วนล่างให้ยื่นไปข้างหน้าปลายเท้าตรง เชิดปลายเท้าขึ้นให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหา ลำขา ขาข้างที่ยืนย่อเข่าเล็กน้อย
ก้าวเท้า
ก้าวเท้า
ก้าวเท้า คือ การเคลื่อนไหวเท้าไปทิศใดทิศหนึ่งโดยลงน้ำหนักบนเท้าข้างที่ก้าว ก้าว
เท้าแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ก้าวหน้า ก้าวข้าง และก้าวไขว้
ก้าวหน้า คือ การวางฝ่าเท้าของเท้าที่ก้าวลงบนพื้นด้านหน้า ให้ส้นเท้าของเท้าที่ก้าวอยู่ ตรงปลายเท้าหลัง (ระยะห่างของส้นเท้าถึงปลายเท้าประมาณ 1 คืบ) วิธีวางเท้า ก้าวให้หันปลาย เท้าที่ก้าวเฉียงออกด้านข้างเล็กน้อย น้ำหนักอยู่ที่เท้าที่ก้าว การก้าวต้องย่อตัวแต่พองาม
ก้าวหน้า คือ การวางฝ่าเท้าของเท้าที่ก้าวลงบนพื้นด้านหน้า ให้ส้นเท้าของเท้าที่ก้าวอยู่ ตรงปลายเท้าหลัง (ระยะห่างของส้นเท้าถึงปลายเท้าประมาณ 1 คืบ) วิธีวางเท้า ก้าวให้หันปลาย เท้าที่ก้าวเฉียงออกด้านข้างเล็กน้อย น้ำหนักอยู่ที่เท้าที่ก้าว การก้าวต้องย่อตัวแต่พองาม
ก้าวข้าง
ก้าวข้าง
ก้าวข้าง กิริยาที่ต่อจากยกเท้า โดยวางส้นเท้าที่ก้าวไปด้านข้างให้ตรงกับปลายเท้าที่ยืนย่อเข่า
ทั้ง 2 ข้าง ลงน้ำหนักอยู่เท้าหน้า เท้าหลังเหยียบเต็ม สำหรับตัวนางให้พลิกข้อเท้าหลังหลบเข่า
ประเท้า
ประเท้า
ประเท้า การประเท้าจะประเท้าใดก็ได้ปฏิบัติโดยการยืนเหลื่อมเท้าที่จะประมาข้างหน้า ย่อเข่า
แล้ว ตบจมูกเท้าลงบนพื้นเบา ๆ โดยส้นเท้าวางอยู่กับที่
อาจจะประเท้าแล้วยกขึ้นหรือประเท้าอยู่กับที่ก็ได